วิธีการรักษาโรคซึมเศร้า ที่คุณควรรู้ 

การรักษาโรคซึมเศร้า
July 27, 2023

โรคซึมเศร้า หรือ โรคประสาทซึมเศร้า ในศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า Depression คือโรคที่เทางจิตเวชเป็นความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับทั้งร่างกาย และจิตใจ ทำให้รู้สึกเศร้า วิตกกังวล และไม่มีความสุข อยากร้องไห้ นอนหลับยาก และปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง ส่งผลให้การใช้ชีวิตในแต่ละวันเป็นไปได้อย่างยากลำบาก แน่นอนว่าโรคดังกล่าวนั้นคงไม่ได้เป็นกันง่าย ๆ แต่ท่าเป็นแล้วนั่นอาจส่งผลถึงชีวิตคนคนนั้นเลยก็ว่าได้ 

สาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้า 

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้า ในตอนนี้ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าผู้ป่วยแต่ละคนมีสาเหตุจากอะไร แต่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในหลาย  ๆ องค์ประกอบ ได้แก่ 

สารเคมีในสมอง

การเกิดของโรคซึมเศร้านั้นอาจเกิดขึ้นได้จากการที่เคมีในสมองขาดความสมดุล ซึ่งจะประกอบไปด้วย ซีโรโท

นิน (Serotonin) โดพามีน (Dopamine) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) หากมีสารเคมีตัวใดตัวหนึ่งมากหรือน้อยไปก็อาจจะทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ 

กรรมพันธุ์

โรคซึมเศร้านั้น สามารถส่งต่อได้ทางกรรมพันธุ์ หรือการถ่ายทอดต่อทางพันธุกรรม หากครอบครัวไหนมีผู้ป่วยเป็น

โรคซึมเศร้าแล้วละก็ คนในครอบครัวก็จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 20% แต่อย่างไรก็ตามการแพทย์ในปัจจุบันนั้นยังไม่สามารถระบุได้ว่ายีนตัวไหนที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า

นิสัยส่วนตัว

โรคซึมเศร้ามักจะเกิดขึ้นในบุคคลที่ขาดความมั่นใจ (Low Self-esteem) หรือมองตัวเองว่าไม่มีประโยชน์ มอง

โลกในแง่ลบ หรือคิดในแง่ร้าย อาจจะก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ 

สภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์

โรคซึมเศร้ามักเกิดมากในผู้ที่เผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็น การหย่าร้าง การ

แยกทางจากบิดามารดาตั้งแต่เด็ก การถูกขู่ทำร้าย การตกงาน และแรงกดดันอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดความกระทบกระเทือนในจิตใจ 

การรักษาโรคซึมเศร้า

ในปัจจุบันการรักษาโรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยผู้ป่วย 80%-90% ที่ตอบสนองต่อการรักษาโดยจิตแพทย์ และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการดีขึ้นหลังจากที่ได้รับการรักษา ซึ่งมีวิธีการรักษาอยู่หลัก ๆ แล้ว 3 วิธีด้วยกันได้แก่ 

1. การทำจิตบำบัด คือการรักษาแบบการพูดคุย รับฟังปัญหาให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น โดยการรักษาชนิดนี้จะเรียกว่า Cognitive behavioral therapy (CBT) เป็นการรักษาที่เน้นให้ผู้ป่วยเข้าใจปัญหาและปรับความคิดในแง่ลบ ให้เข้าสู่ในแง่บวกมากยิ่งขึ้น 

2. การทานยา การรับประทานยาเป็นการรักษาที่ควบคู่ไปกับการรักษาแบบอื่น ๆ โดยจะมี 3 กลุ่มตัวยาด้วยกันคือ SSRI, TCA และNDRI โดยยาทั้ง 3 ชนิดนี้จะมีผลที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยมีการซึมเศร้าแบบใด 

3. การรักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy: ECT) การรักษาในรูปแบบของใช้กระแสไฟฟ้าที่มีความเข้มต่ำกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการรุนแรง หรือผู้ที่รักษาทั้งแบบทานยา และการทำจิตบำบัดแล้วยังไม่ดีขึ้น ซึ่งการรักษาด้วยไฟฟ้าจะทำโดยผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาล โดยผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์

อย่างไรก็ตามการรักษาทั้ง 3 วิธีนี้ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อนว่า ผู้ป่วยรายนั้นมีอาการของโรคซึมเศร้าจริงหรือไม่ และหากได้รับคำวินิจฉัยแล้วว่ามีอาการของโรคดังกล่าวจริง ก็จะส่งไปสู่การรักษาในขั้นตอนต่อไป ไม่ควรรักษาด้วยตัวเอง หรือซื้อยามารับประทานแบบไม่มีแพทย์คอยให้คำแนะนำ เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อเคมีในสมองได้ 

Tags: